“Chain Chain” โชว์พลังแห่งงานออกแบบจากไต้หวันที่ Bangkok Design Week 2023

ดร.จวงซั่วฮั่น ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย (กลาง) ร่วมเป็นสักขีพยานพิธีลงนาม MOU จางจีอี้ ประธานสถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน (ซ้าย) และชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการ

ข่าวออกแบบ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566 เป็นหนึ่งในเทศกาลงานออกแบบชื่อดังระดับโลก โดยธีมจัดแสดงในปีนี้คือ urban’NICE’zation ซึ่งจะจัดขึ้นบนสี่ย่านสำคัญในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 4 – 12 กุมภาพันธ์ 2566 พาทุกคนเดินชมงานตามเส้นทางต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านงานออกแบบและศิลปะ ในปีนี้ สถาบันวิจัยด้านการออกแบบแห่งไต้หวัน (Taiwan Design Research Institute หรือ TDRI) ได้รับคำเชิญพิเศษจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ผู้จัดงาน ให้มาเข้าร่วมและจะจัดแสดงผลงานภายใต้ธีม “Chain Chain” โดย เจิ้งซีข่าย ภัณฑารักษ์ผู้จัดการบริหารนิทรรศการ ซึ่งได้รวบรวมเอารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ทางไต้หวันเริ่มส่งเสริมในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มาจัดแสดง พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ เอกชน นักออกแบบ รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อเชื่อมโยงไต้หวันกับนานาชาติ ทั้งนี้ สถาบันวิจัยด้านการออกแบบแห่งไต้หวัน (TDRI) คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การร่วมเทศกาลงานออกแบบในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไต้หวันและไทยให้กระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

โชว์พลังแห่งงานออกแบบ 12

ได้มีการจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยมี ดร. จวงซั่วฮั่น ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย

ข่าวออกแบบ ที่ได้เดินทางมาร่วมแสดงความยินดี และร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการออกแบบในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพ 2566 (Bangkok Design Weeks 2023) ระหว่าง จางจีอี้ ประธานสถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน และนายชาคริต พิชญางกูร ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่างไต้หวันและไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ การวิจัยการออกแบบ การออกแบบหมุนเวียน นิทรรศการการออกแบบ และการส่งเสริมรางวัลการออกแบบจานรองแก้วรีไซเคิลที่ทำมาจากขยะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดย TPCreativeนิทรรศการ Chain Chain จัดแสดงงานที่ Thailand Creative & Design Center (TCDC) โดยจัดแสดงงานดีไซน์ของไต้หวันด้วยกันทั้งหมด 9 แบรนด์ ได้แก่ แผน Carrefour Impact ที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2563 โดยได้ร่วมมือกับบริษัท Taiyen Biotech จัดทำแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาบน้ำซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หมุนเวียน, จานรองแก้วรีไซเคิลที่ทำมาจากขยะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดย TPCreative, “CRYSTIN” ที่แสดงความงามของกระจกด้วยเทคโนโลยีรีไซเคิลโดย W Glass Project, แว่นตารีไซเคิล Hibāng ที่ทำมาจากไนลอนที่รีไซเคิลจากอวนจับปลาในไต้หวัน ผลิตโดย Duolog Design, ลำโพงเอนกประสงค์ที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลด้วยระบบรีไซเคิลขยะของ Trashpresso by MINIWIZ และผลิตภัณฑ์รุ่น Vero ที่ออกแบบจากแนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนจาก Acer โดยผลิตภัณฑ์ข้างต้นทั้งหมดนี้ได้ผสมผสานแนวคิดเรื่องระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน กับจิตวิญญาณของแบรนด์และเทคโนโลยีการผลิตเข้าไว้ด้วยกันนอกจากนี้ ยังมี “re-ling Tabouret cannelé” ของยูนิลีเวอร์, “น้ำยาซักผ้ารีไซเคิลจากแคลเซียมเปลือกหอย” จาก Picupi ที่ได้รับรางวัลการออกแบบยอดเยี่ยมแห่งปี (Golden Pin Design Award) และขวดแชมพูจาก O’Right ที่ใช้พลาสติกรีไซเคิล 100% และบรรจุภัณฑ์สีเขียวที่สามารถรีไซเคิล ใช้ซ้ำ และย่อยสลายได้ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมการออกแบบของไต้หวันที่อาศัยแนวคิดระบบหมุนเวียนและการรีไซเคิลในทุกด้านมาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวันเข้าร่วมงาน Bangkok Design Week 2023 ในธีม Chain Chain โดย เจิ้งซีข่าย ภัณฑารักษ์ ได้ใช้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมเป็นตัวเปรียบเทียบการเชื่อมโยงระหว่างไต้หวันกับโลกสถาบันวิจัยด้านการออกแบบแห่งไต้หวัน (TDRI) ไม่เพียงให้ความสำคัญกับระบบหมุนเวียนที่สร้างขึ้นโดยแบรนด์ต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังต้องการเน้นย้ำความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมและภูมิภาค “Chain Chain” ที่มาจัดแสดงในเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ปีนี้ ได้นำเสนอแนวคิดระบบหมุนเวียนและวัสดุรีไซเคิลในการออกแบบเชิงนวัตกรรม พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความสำเร็จของไต้หวันกับประเทศไทย สร้างสายสัมพันธ์และกระชับความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และสถาบันการศึกษาของไทย ผ่านงานออกแบบ นำแนวคิดระบบหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน และช่วยทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ชนาพัฒน์ บ่มเพาะนักออกแบบรุ่นใหม่ ปลดปล่อยจินตนาการสู่นักออกแบบมืออาชีพ

You may also like...