ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และความสำคัญเอสเอ็มอี ต่อระบบเสถียรภาพเศรษฐกิจไทย : ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล

“ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล” ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาประจำรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 2 และได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมาธิการพาณิชย์ ในคณะกรรมาธิการพาณิชย์ อุตสาหกรรมและแรงงาน

ซึ่งถือว่าเป็นคณะกรรมาธิการที่ใหญ่ที่สุดในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ยุคนั้น และภายหลังลาออกจากที่ปรึกษารองประธาน สนช. แล้ว ก็เข้ารับตำแหน่งประธานบอร์ดการเคหะแห่งชาติ ระยะเวลาสั้น ๆ ในช่วงรัฐบาลเลือกตั้ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โลกเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด Covid-19 พอดี“ณัฐพงศ์” ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเรื่องของกฎหมายการค้าพาณิชย์หลายฉบับ เช่น Antitrust Law หรือ กฎหมายป้องกันการผูกขาดและกีดกันทางการค้า ซึ่งผลของกฎหมายนั้น ก่อให้เกิดองค์กร เช่น กขค. (สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า) และการทำงานหน้าที่นี้ ทำให้ “ณัฐพงศ์” ได้เห็นปัญหาบางประการของกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่ว่ากฎหมายไม่ดี กฎหมายหลายฉบับเขียนออกมาดี แต่เวลานำไปมาปฏิบัติ กลับไม่ใช่อย่างที่คิด…บทสนทนาวันนี้ ทำให้เรื่องที่ดูเหมือนจะห่างไกลตัวและเป็นวิชาการ เป็นภาษาที่ฟังง่ายและเข้าถึงเข้าใจได้ง่าย“เปรียบเทียบว่า มีบ่อปลาอยู่สองบ่อ บ่อปลาใหญ่กับบ่อปลาเล็ก รัฐคือคนที่เปิดประตู หรือกั้นประตูให้ปลาอยู่ด้วยกันได้ แต่บางกฎหมาย ทำให้ประตูกั้นถูกยกออก ปลาใหญ่สามารถเข้าไปกินปลาเล็ก ทำให้รู้เลยว่า ถ้ากฎหมายดี แต่บริหารกฎหมายไม่ดี สิ่งที่มันจะเกิดขึ้น คือ คนตัวเล็กตัวน้อย จะตาย”ณัฐพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กฎหมายก็คือกระดาษใบหนึ่ง แต่คนที่เอากฎหมายไปใช้ ต้องเข้าใจว่า จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเติบโตบนความยั่งยืนอย่างไร ให้ทุกคนได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ซึ่งทุกคนพอมาเป็นรัฐบาลก็อยากให้ประเทศเติบโต อยากให้ GDP (Gross Domestic Product) โต เป็นความคิดแบบโบราณ“GDP โตมาก ไม่ได้หมายความว่าคนส่วนใหญ่ได้ประโยขน์ เพราะโดยโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจไทย กลุ่มที่สร้าง GDP ส่วนใหญ่ของไทย มาจาก 700-800 บริษัท ซึ่งสร้างรายได้ให้ประเทศประมาณ 60% ในขณะที่บริษัทขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก สร้างรายได้ให้ประเทศ 38% ของ GDP ซึ่งคนในกลุ่มนี้มีประมาณ 3.1 ล้านราย สมมติ ครอบครัวหนึ่งมี 7 คน เอา 7 คูณ 3.1 ล้าน รวมเป็น 21 ล้านคน แปลง่าย ๆ ว่าถ้ามุ่งเน้นแต่ความเติบโตทางรายได้ของประเทศจะตอบโจทย์คนจำนวนน้อยมาก ๆ (700-800 ราย) แต่อาจไม่ตอบโจทย์คนจำนวนมากกว่า 20 ล้านคน”

ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

“นั่นล่ะคือสาเหตุของคำว่า “รวยกระจุก จนกระจาย” และจะเป็นธรรมชาติ เมื่อคนตัวใหญ่โตไม่หยุด ก็จะยิ่งเบียดพื้นที่คนตัวเล็ก ในช่วงหนึ่ง

เราจึงเห็นรัฐบาลพูดว่า GDP โต 3-4% ทุกคนต้องดีใจสิ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่หรอก คนส่วนใหญ่จะยิ่งลำบาก และต่อว่ารัฐบาลว่าทำมาหากินลำบาก ความจริงแล้ว เรื่องทั้งหมดก็มีต้นเหตุง่ายๆ แบบนี้ล่ะ ความไม่สมดุลของโครงสร้างเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ”ตั้งแต่ปี 2012 (พ.ศ. 2555) ทั่วโลกเริ่มตื่นตัวเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ในตำแหน่งที่ต้องเป็นคณะทำงานด้านกฎหมายพาณิชย์ ทำให้ณัฐพงศ์สนใจความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของไทย จึงศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกจากการศึกษาการแก้ปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำในต่างประเทศ 25 ประเทศ ทำให้เห็นแนวทางแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทั้งวิธีการที่ได้ผล และล้มเหลว รวมถึงผลลัพธ์เชิงลบต่อสังคม หากไม่แก้ไข กระทั่งตกผลึกทางความคิด … และนี่ก็คือ 3 เครื่องมือสำหรับแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ที่เขาอยากให้ผู้กำหนดนโยบายดำเนินการ“เวลาพูดถึงดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่กับรายย่อยในประเทศไทย มันเหมือนวิ่งแข่ง 100 เมตร รายใหญ่ไปเริ่มวิ่งที่เส้น 50 เมตร แล้วรายย่อยไปเริ่มที่เส้น -10 เมตร เริ่มวิ่ง รายย่อยต่อให้เก่งยังไง ก็แพ้ตั้งแต่ยังไม่วิ่ง”นั่นคือคำพูดของ “ณัฐพงศ์” ที่สะท้อนปัญหาต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการในประเทศ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม รายใหญ่และรายย่อยในประเทศไทย ต่างกันมากเกินไป รวมไปถึงการเข้าถึงแหล่งเงินกู้เหล่านี้ของรายเล็กเป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อเทียบรายใหญ่“ทุกประเทศรายใหญ่ได้เปรียบรายเล็กเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทย เรื่องนี้มากเกินไป และดูเหมือนทุกคนจะนิ่งเฉยกับปัญหานี้ เพราะคิดว่ามันคงเป็นปกติแบบนี้ล่ะ แต่ความจริงแล้ว ประเทศไทยดอกเบี้ยไม่ปกติ”“ถ้าอธิบายแบบทฤษฎี ก็จะคิดว่า บริษัทขนาดใหญ่มีความมั่นคงสูง ความเสี่ยงก็เลยต่ำ แบงก์ก็จะเก็บสิ่งที่เรียกว่า Risk Premium หรือค่าความเสี่ยงต่ำ พอคิดค่าความเสี่ยงต่ำ เขาก็จะใช้ดอกเบี้ยฐาน แล้วบวกค่าความเสี่ยงไปนิดเดียว รายใหญ่จึงกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ แล้วบริษัทขนาดใหญ่ เวลากู้เงินจำนวนมาก ก็เหมือนเราซื้อสินค้าจำนวนมาก ก็จะได้ราคาที่ถูกลง และที่สำคัญ บริษัทขนาดใหญ่ก็จะมีแต่คนวิ่งเข้าไปเสนอเงินกู้ให้เขา เพราะฉะนั้น เขาจึงสามารถต่อรองได้มาก”

แนะนำเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เนื้อหมูราคาแพง : การอธิบายด้วยกฎธรรมชาติทางเศรษฐศาสตร์

You may also like...