โรคไข้หูดับ ภัยจากเนื้อหมูติดเชื้อแบคทีเรีย ที่อันตรายถึงชีวิต

โรคไข้หูดับ ภัยจากเนื้อหมูติดเชื้อแบคทีเรีย ที่อันตรายถึงชีวิต

 อาหาร รู้จัก โรคไข้หูดับ ภัยร้ายใกล้ตัวที่ไม่ได้เกิดจากการกินปิ้งย่าง หมูกระทะเพียงอย่างเดียว และมีอันตรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิต เมนูปิ้งย่าง หมูกระทะ ชาบู สุกี้ หนึ่งในกลุ่มเมนูยอดนิยมของคนไทย และค่อนข้างเป็นหนึ่งในเมนูที่หลาย ๆ คนมักนึกถึงสำหรับการเฉลิมฉลองบางอย่างแต่การรับประทานอาหารแนวหมูกระทะ ปิ้งย่างนั้น มีหนึ่งโรคที่ซ่อนอยู่กับการกินอาหารลักษณะดังกล่าว และสามารถเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสด้วยเช่นกัน โรคนั้นคือ “โรคไข้หูดับ” โรคไข้หูดับ คืออะไร  โรคไข้หูดับ คือ โรคที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “สเตร็ปโตค็อกคัส ซูอิส ” โดยเชื้อดังกล่าวจะอยู่ในระบบทางเดินหายใจ และเลือดของหมู แต่เชื้อดังกล่าวไม่ได้ติดเชื้อสู่คนได้ผ่านการหายใจ เหมือนเชื้อไข้หวัดปกติ แต่สามารถติดเชื้อได้ผ่านบาดแผล เยื่อบุตา และการรับประทาน การติดเชื้อ จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณ๊ คือ 1.เกิดจากการบริโภคเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่ดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เมนูที่มักจะพบได้บ่อย คือ ลาบ หลู่ 2.เกิดจากการสัมผัสเนื้อสัตว์ เครื่องในหมู และเลือดหมูจากตัวที่ติดเชื้อ โดยติดเชื้อได้จากทางบาดแผล เยื่อบุตา รวมถึงการสัมผัสสารคัดหลั่งของหมูที่ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย ส่วนกรณีที่มีการรายงานข่าวที่ผ่าน ๆ มาว่า กินหมูกระทะ แล้วพบการติดเชื้อไข้หูดับในตอนหลังนั้น  ข่าวอาหาร  ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน จากการใช้ตะเกียบคู่เดียวกันในการคีบเนื้อดิบนำไปย่าง และนำมาคีบเนื้อสุกด้วย ซึ่งเปรียบเสมือนว่า รับประทานเนื้อหมูดิบหรือปรุงไม่สุกนั่นเอง อาการที่พบได้ในผู้ติดเชื้อโรคไข้หูดับ เชื้อโรคไข้หูดับ จะมีระยะฟักตัวในร่างกายก่อนที่จะแสดงอาการไม่เกิน 3-5 วัน โดยส่วนใหญ่จะมีอาการไข้สูง ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ บางรายที่มีอาการรุนแรง จะส่งผลให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ถึงขั้นพิการ และมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะช็อกและการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ส่วนคำว่า “หูดับ” ที่อยู่ในชื่อโรค เป็นอีกหนึ่งในอาการที่พบได้จากการติดเชื้อโรคไข้หูดับในปลายระบบประสาทหู ทำให้เกิดการอักเสบและกระทบต่อการได้ยินแบบเฉียบพลัน และอาจถึงขั้นพิการ หูหนวกได้

แนะนำข่าวอาหาร อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : เชฟผู้คิดค้นเมนู ชิกเก้น ทิกก้า มาซาล่า เสียชีวิตในวัย 77 ปี

You may also like...