บล.พาย ประเมินกำไร 7 แบงก์ไทยปี 2565 กว่า 1.74 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% เฉพาะไตรมาส 4/2565 แบงก์โกยกำไรกว่า 4.26 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 20% จากปีก่อน
ข่าวการเงิน เหตุรายได้ดอกเบี้ยพุ่ง-สำรองหนี้ลด ชี้ “BBL-TISCO” เด่นสุด ส่วน “KBANK-KKP” เจอฐานสูงตัวเลขส่อลดลง พร้อมคาดการณ์แนวโน้มกำไรไตรมาส 1/2566 ยังมีโมเมนตัมดี รับเศรษฐกิจฟื้น-เปิดเมือง หนุนการขยายตัวสินเชื่อ-NIM-ค่าฟี-ไร้กังวลเอ็นพีแอลนายธนเดช รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) พาย จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ได้ประมาณการผลประกอบการงวดไตรมาส 4/2565 ของธนาคารพาณิชย์ 7 แห่ง ได้แก่1.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) 2.บมจ.เอสซีบีเอกซ์ (SCBX) 3.ธนาคารกรุงเทพ (BBL) 4.ธนาคารกรุงไทย (KTB) 5.ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) 6.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) และ 7.ธนาคารทิสโก้ (TISCO) คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 42,610 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.5% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) แต่ลดลง 4.3% จากไตรมาสก่อนหน้า (QOQ) ขณะที่กำไรสุทธิทั้งปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ 174,816 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.3% YOY“ภาพรวมไตรมาส 4/2565 การเติบโตของธุรกิจแบงก์เมื่อเทียบ YOY มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่เพิ่มขึ้น เป็นไปตามการเติบโตของยอดสินเชื่อและมาร์จิ้นที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการตั้งสำรองหนี้ที่ปรับลดลง ส่วนสาเหตุที่ลดลง QOQ เป็นเพราะมีค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยฤดูกาล โดย BBL และ TISCO เด่นสุด เพราะเติบโตได้ทั้ง YOY และ QOQ หลัก ๆ จากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นและสำรองหนี้ลดลง แต่ถ้าเทียบ YOY โตดีสุด คือ KTB เพราะมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้น และรายได้ค่าธรรมเนียมที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมไปถึงสำรองหนี้ปรับลดลง”
ขณะที่ KBANK และ KKP ผลประกอบการ Q4/2565 คาดว่าจะลดลงทั้ง YOY และ QOQ สาเหตุเพราะว่าไตรมาส 4/2564 ทาง KBANK มีการรับรู้กำไร mark to market ในทางบัญชีที่สูง
ข่าวการเงิน จากพอร์ตลงทุนของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ตามดัชนี SET Index ช่วงนั้นที่ปรับตัวสูง แต่ไตรมาส 4/2565 กำไรส่วนนี้คงจะน้อยลง ส่วน KKP มีการรับรู้รายการพิเศษในช่วงไตรมาส 4/2564 แต่รอบนี้ไม่มี กดดันกำไรลดลงกว่าแบงก์อื่น ๆนายธนเดชกล่าวว่า ส่วนแนวโน้มกำไรแบงก์ช่วงไตรมาส 1/2566 มีโมเมนตัมที่ดีจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานกลับไปสู่ภาวะปกติทำให้หนุนการฟื้นตัว ประกอบกับช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวและมีการเปิดเมืองจะเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายสินเชื่อ ช่วยหนุนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียมจากการทำธุรกรรมทางการเงิน จึงประเมินภาพกำไรของทุกแบงก์จะโตได้ทั้ง YOY และ QOQส่วนเทรนด์หนี้เสีย (NPL) ยังมีแนวโน้มที่ลดลง จากช่วงไตรมาส 4/2564 มีค่าเฉลี่ย 4.1% และในไตรมาส 3/2565 ลงมาอยู่ที่ 3.7% คาดว่าในไตรมาส 4/2565 จะปรับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.8% จากกลุ่มลูกหนี้ที่หมดโครงการความช่วยเหลือ ไม่ได้มีอะไรน่ากังวล“หุ้นแบงก์เป็นเซ็กเตอร์ที่ค่อนข้าง outperform ตั้งแต่ไตรมาส 4/2565 ต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2566 จากความน่าสนใจของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและเปิดประเทศ รวมไปถึงทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น ไร้กังวลเอ็นพีแอล เพียงแต่ราคาหุ้นช่วงนี้วิ่งขึ้นมาจ่อการประกาศงบฯแบงก์ 16-20 ม.ค. 2566 เป็นไปได้ที่ราคาอาจจะพักตัว และจะวิ่งตามผลงานแบงก์แต่ละแห่ง ดังนั้นนักลงทุนอาจจะใช้จังหวะขายทำกำไรได้บ้าง” นายธนเดชกล่าว
แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : แบงก์แห่ปล่อยกู้บ้านแลกเงิน “LTV-ดอกเบี้ย” ดันต้นทุนสินเชื่อบ้านใหม่พุ่ง